รีวิว การชาร์จรถไฟฟ้า EV ด้วยตัวเองครั้งแรก

ใครจะซื้อรถไฟฟ้า ลองอ่านรีวิวการชาร์จรถไฟฟ้า EV อันนี้ก่อนนนนน 

หลังจากรับรถ วันถัดมาก็ลองขับระยะไกล ไปกลับประมาณ 400-500 กม. รอบแรกไปไหว้พระอยุธยา ถึงบ้านยังพอมีแบตเหลือ แต่ก็อยากลองชาร์จ DC นอกบ้าน เลยพากันหาสถานีสำหรับชาร์จรถไฟฟ้า

แวะประมาณ 10 สถานี ทั้งตาม Map ที่บอกพิกัดสถานี และตามปั๊มที่คิดว่าน่าจะมี 

อันแรก เจอสถานีชาร์จ แต่มีรถชาร์จอยู่ เลยไปต่อ นอกนั้นคือ ถึงเจอก็ใช้ไม่ได้ 

สุดท้ายเลยต้องโทรถาม Call Center … สำเร็จ แต่คือแฟนทำให้ทั้งหมด

สองวันถัดมา ขับมาไหว้พระที่อุทัยธานี ก่อนออกจากบ้าน ชาร์จ AC ได้แบตประมาณ 90%

ขากลับ แบตเหลือไม่ถึงบ้าน ต้องแวะชาร์จ จึงได้มีประสบการณ์ตรงของตัวเอง

ณ ตอนนี้ สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้านอกบ้าน เมย์สรุปได้ดังนี้

เลือกเจ้าที่จะใช้ และโหลดแอพที่เกี่ยวข้อง 

เมย์ใช้ของ EA Anywhere เพราะแฟนใช้ เราพอจะเห็นไกด์ไลน์ เลยโหลดไว้เพื่อสร้างความอุ่นใจ

พอจะชาร์จจริง อยากลองของ ปตท.

ค้นจาก Google Map เจอสถานี แต่พอไปถึงหน้าตู้ติดป้ายว่าไม่พร้อมใช้งาน (วันที่ไปอยุธยา ก็เจอเห็นการณ์แบบนี้) โทรหา Call Center ไม่รับสาย

เลยกลับมาที่ EA Anywhere 

ค้นหาสถานีที่อยู่ใกล้

ค้นจาก App หรือ Maps ก็ตามสะดวก

ก่อนขับไปที่สถานี โทรเช็คคอลเซนเตอร์ก่อน

เนื่องจากรูทอยุธยา ชาร์จสำเร็จได้ด้วยการโทร

แล้ววันนี้แบตเหลือ 13% ประมาณ 60 กม. โทรก่อนนน อย่าเสี่ยง

โทรไปคอลเซ็นเตอร์ ไม่รับ เลยโทรไปถามทางรีสอร์ต ว่าเข้าไปชาร์จได้ไหม คนรับสายบอกว่า “ได้อยู่” ที่แปลว่า …

ตอนไปถึงก็ดูโอเค เสียบสายกดตามขั้นตอน ไฟเข้าเรียบร้อย เดินออกจากรถ 3 ก้าว แอพแจ้งเตือนว่ามีปัญหา ให้ถอดแล้วเสียบปลั๊กใหม่ 

ก็เลยเปลี่ยนจาก DC สาย A ไป สาย B

แต่กลายเป็นว่า เสียบสายยังไง รถกับตู้ ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ 

อ่ะ ติดต่อคอลเซ็นเตอร์

ใช้เวลารอสายประมาณ 1-3 นาที

แอดมินพูดจาน่ารัก “แอดมินขอเช็คให้สักครู่น้าาาา” 

แอดมินสอบถามข้อมูล และกดรีสตาร์ทเครื่องให้ ก่อนจะบอกว่า “แอดมินว่าลูกค้าน่าจะชาร์จที่ตู้นี้ไม่ได้นะคะ” (ตู้มีปัญหา)

อ่ะ ย้ายยยยยย 

ซึ่งงงงง พอไปถึงอีกตู้ หน้าจอเครื่องไม่แสดงผลค่าาา โอ้ยยยยยย

มีปัญหาติดต่อคอลเซ็นเตอร์

โทรหาคอลเซ็นเตอร์อีกที “แอดมินขอเช็คให้สักครู่น้าาาา” 

สแกนไม่ได้ แต่แอดมินบอก Code ให้กรอกได้ ก็กด Next Step จนชาร์จไฟได้สำเร็จ เย้!

หาร้านนั่งรอ 

แม้เฉลี่ยแล้วแบตจะเพิ่มนาทีละเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ใช้เวลาพอสมควร 

เช็คแอพบ่อย ๆ 

เดิน 2 ก้าว สายมีปัญหา

นั่งเขียนรีวิวอันนี้อยู่ แอพก็แจ้งเตือนว่า Faulted 

ทริปทำบุญจริงป่ะเนี้ยยยยยย

ดังนั้น ถ้าไม่อยากนั่งเสียเวลาฟรี แถมอาจจะเสียเงินค่าเกินเวลาโดยไม่รู้ตัว อย่าลืมเช็คสเตตัสการชาร์จบ่อย ๆ นะคะ

ขั้นตอนการชาร์จรถไฟฟ้า 

(DC ของ EA Anywhere)

  1. เปิดแอพ สแกนหรือใส่ Code (สแกนที่จอหน้าตู้)
  2. เลือกข้อมูลรถคันที่เราจะชาร์จ
  3. เลือกหัวชาร์จ และตำแหน่งสาย
  4. เพิ่มบัตรเครดิต
  5. ประตูตู้เก็บสายชาร์จด้านที่เราเลือกจะเด้งเปิดอัตโนมัติ
  6. นำสายมาเสียบกับรถ
  7. ล็อครถ 
  8. กดเริ่มชาร์จ รอดูจนไฟวิ่งเข้ารถเรียบร้อยแล้ว
  9. เมื่อชาร์จเสร็จ กดหยุดในแอพ ปลดล็อครถ เก็บสายชาร์จ ปิดตู้

ชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่

EA Anywhere 6.5 บาท/kW 

ราคา พลังงาน และระยะเวลา ขึ้นกับตู้จ่ายไฟและตัวรับของรถเราเลยค่า

ทริปอยุธยา กำลังจ่ายไฟ 37.5-75 kW ใช้เวลา 41.05 นาที จ่ายไป 288.21 บาท ได้มา ~ 44.34 kW

ทริปอุทัยธานี กำลังจ่ายไฟ 25-50kW ใช้เวลา 40.42 นาที จ่ายไป 200.92 บาท ได้มา ~ 30.91 kW

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV

ถ้าดูพิกัดทุกแบรนด์ก็เหมือนจะเยอะ แต่ถ้าหักลบกับที่ยังไม่พร้อมใช้งาน หรือมีปัญหาติดขัด ตัวเลือกก็เหลือก็ค่อนข้างจำกัด

เท่าที่เช็ค เหมือนเมืองใหญ่ จะมีสถานีชาร์จมากกว่าเมืองเล็ก

Next Step

ทริปต่อไป โดยเฉพาะรูทที่มากกว่า 300 กม. จะแวะชาร์จให้บ่อยขึ้น ไม่ต้องรอให้ใกล้หมด

รวมถึง การแพลนทริป จะแวะไหนบ้าง ถ้าสถานที่นั้น/สถานที่ใกล้เคียงมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV ก็อาจจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของเรา

สนใจเรื่องผิว สกินแคร์ การเงิน การเดินทาง การใช้ชีวิต และการจดบันทึก